วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันรัฐธรรมนูญ
 ตรงกับวันที่๑๐ ธันวาคมของทุกปี ประวัติรัฐธรรมนูญ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 10 ธันวาคม
รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ 

วันรัฐธรรมนูญ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประ เทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูง สุดของประเทศ

๑. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

       ๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก   ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

       ๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

       ๔. รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร    

จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยการ ปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่ว คราว สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้    
๑. พระมหากษัตริย์

     ๒. สภาผู้แทนราษฎร

       ๓. คณะกรรมการราษฎร

       ๔. ศาล

ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบัน ที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติ ออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมา ภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลง การปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

กระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา  ทั้งนี้เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์  ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทนรัฐสภา  ซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่า นั้น   แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย  แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบ กันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้   หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมี ผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่   พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ แต่ถ้านับ เฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง ๑๓ ฉบับดังนี้

       ๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน

       ๒. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน

       ๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้  เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน

       ๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน

       ๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒  รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน

       ๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน

       ๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน

       ๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศ และบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน

       ๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี

     ๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙  ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี

     ๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน

     ๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ (แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๕๒๘)

     ๑๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔

     ๑๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐

     ๑๗. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๙ (ฉบับชั่วคราว)

   ๑๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (รัฐธรรมนูญ ฉบับลงประชามติ)
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลเป็นอดีตภาค ๒๕๕๐ พรรษา   ปัจจุบันสมัย จันทรคตินิยม สูกรสมพัดสร  สาวนมาส ชุณหปักษ์ เอกาทสิดิถี สุริยคติกาล สิงหาคมมาส จตุวีสติมสุรทิน ศุกรวาร โดยกาลบริเฉท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้นําความกราบบังคมทูลว่า การปกครองของประเทศไทย ใ นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ดําเนินวัฒนามากว่าเจ็ดสิบห้าปี ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา    ได้มีการประก าศใช้ ยกเลิก และแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่สภาวการณ์ของบ้านเมืองและกาลสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และ โ ดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่ างรัฐธรรมนูญขึ้น มีหน้าที่จัดทําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับสําหรับเป็นแนวทางการปกครองประเทศ   โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอนและนําความคิดเห็นเหล่านั้นมาเป็นข้อคํานึงพิเศษ  ในการยกร่างและพิจารณาแปรญัตติโดยต่อเนื่อง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จัดทําใหม่นี้มีสาระสําคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ในการธํารงรักษาไว้ซึ่งเอกราช และความมั่นคงของชาติ การทํานุบํารุงรักษาศาสนาทุกศาสนาให้สถิตสถาพร การเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นมิ่งขวัญของ ชาติ การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน   ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกําหนดกลไก สถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาล และองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม

เมื่อจัดทําร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว สภาร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็น ชอบแก่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ การออกเสียงลงประชามติ ปรากฏผลว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประ ชามติเห็นชอบให้นําร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับ  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงนําร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ให้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ทรงพระราชดําริว่าสมควรพระราชทานพระบรมราชานุมัติตามมติของมหาชน

จึงมีพระบรมราชโองการดํารัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อม  ให้ตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ขึ้นไว้ ให้ใช้แทนรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ซึ่งได้ตราไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙  ตั้งแต่วันประกาศนี้เป็นต้นไป

ขอปวงชนชาวไทย จงมีความสมัครสโมสรเป็นเอกฉันท์ ในอันที่จะปฏิบัติตามและพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนี้ เพื่อธํ ารงคงไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยและอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย และนํามาซึ่งความผาสุกสิริสวัสดิ์พิพัฒนชัยมงคลอเนกศุภผลสกลเกียรติยศสถาพรแก่อาณาประชาราษฎรทั่วสยามรัฐสีมา สมดั่งพระบรมราชปณิธานปรารถนาทุกประการเทอญ
กิจกรรม
มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม  ทุกปีสืบมา  งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการ วางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ และจะมีการประดับธงชาติบริเวณ อาคารบ้านเรือน

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรกอัน เป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด   วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

คดีปราสาทพระวิหาร




                                     คดีปราสาทพระวิหาร 




คดีปราสาทพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับราชอาณาจักรสยามอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น
ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการสยามได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map) )
กระนั้น สยามไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน
ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรสยาม แต่สยามยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
ปี พ.ศ. 2501 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่งเจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลสยามและไทยมาก่อน
ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว


คำตัดสิน คดีปราสาทพระวิหาร 
เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ผู้สื่อข่าวรายงานจากพระราชวังสันติภาพ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่า เมื่อเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับไทยเวลา 16.00 น.) 

ผู้พิพากษา นายปีเตอร์ ทอมก้า ประธานองค์คณะผู้พิพากษาศาลโลกขึ้นนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา เริ่มด้วยการแสดงความเสียใจต่อผู้นำไทย ในกรณีสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นต่อด้วยคำพิพากษา มีเนื้อหาโดยสรุป ดังต่อไปนี้

ศาลสรุปว่า ข้อพิพาทมีความสัมพันธ์ใน 3 แง่
1.มีข้อพิพาทว่า คำพิพากษาปี 1962 นั้น ได้ตัดสินหรือไม่ได้ตัดสินว่ามีข้อผูกพันเส้นแบ่งเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก 1 ให้เป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศหรือไม่ 
 2.จะมีความสัมพันธ์ในกรณีพิพาท แง่ความหมายและขอบเขตของวลีที่ว่า บริเวณดินแดนกัมพูชาในบทปฏิบัติที่ 2 ของคำพิพากษาปี 1962  ศาลได้พูดว่าเป็นผลที่ตามมาจากข้อบทปฏิบัติที่ 1 ยืนยันว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา และ 
3.ข้อพิพาทเรื่องพันธะกรณีของไทย เรื่องการถอนกำลังทหาร เป็นไปตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 โดยคำนึงถึงความเห็นที่ต่างกัน

ศาลเห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องตีความข้อบทปฏิบัติการที่ 2 และผลของกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 ภายในขอบเขตนี้ กัมพูชาได้ร้องขอ ศาลจึงรับคำร้องของกัมพูชา ด้วยเหตุข้างต้น ศาลเห็นว่ามีข้อพิพาทของสองฝ่าย เรื่องในมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ด้วยเหตุนี้ศาลจึงมีขอบเขตอำนาจในการตีความ คำพิพากษาปี 1962 จึงรับคำร้องไว้พิจารณา" ผู้พิพากษา กล่าว

ไทยได้กล่าวอ้างถึงพฤติกรรมของคู่ความ เมื่อเดือนมิถุนายน 1962 และช่วงที่มีการอ่านคำพิพาษาเดือนธันวาคม 2008 ไทยได้กล่าวว่าพฤิตกรรมดังกล่าวมีส่วนเกี่ยวข้องกับคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีส่วนผูกพันคู่ความการตีความซึ่งอาจกระทบต่อพฤติกรรมต่อๆไป อาจดูได้จากสนธิสัญญากรุงเวียนนา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล หรือการวินิจฉัยว่าศาลพิจารณาอะไร ไม่ได้อยู่ที่ความเข้าใจของคู่ความ และขอบเขตและความหมายนั้นไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามพฤติกรรมของคู่ความในภายหลังในการตีความนั้น ศาลจะไม่เข้าไปพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ในประเด็นนั้น ศาลเห็นว่าคำพิพากษาเมื่อปี 1962 (พ.ศ.2505) นั้นมีลักษณะ 3 ประการที่เห็นได้ชัด

1.ศาลพิจารณาว่าเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเกี่ยวกับที่ตั้งปราสาทและศาลไม่ได้มีหน้าที่ปักปันเขตแดน ศาลจึงกลับไปดูคำพิพากษา 1962 ได้ดูคำคัดค้านเบื้องต้นว่า กรณีนี้เป็นประเด็นเรื่องเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าเรื่องการกำหนดเขตแดน เพราะฉะนั้น เรื่องข้อ 1 และ 2 ของกัมพูชานั้น ศาลจะรับพิจารณาไว้เท่าที่เป็นเหตุและไม่ถือว่าเป็นข้อเรียกร้องที่ศาลต้องชี้ขาดในข้อบทปฏิบัติการ โดยไม่มีการกล่าวถึงแผนที่ภาคผนวก 1 หรือสถานที่ของเขตแดน ในข้อบทปฏิบัติการ ไม่มีการแนบแผนที่คำพิพากษา และศาลไม่ได้กล่าวถึงความยุ่งยากในการใช้ แผนที่ภาคผนวก1 ประเด็นต่างๆ ที่คู่ความได้กล่าวอ้างนั้น มีความสำคัญในเรื่องเขตแดน

ประการที่ 2 แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของคดี และพิจารณาผลความเกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญา ศาลเห็นว่า ประเด็นหลักคือคู่ความได้รับรองแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นแบ่งเขตแดนอันเป็นผลของคณะกรรมการปักปันเขตแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร และมีผลผูกพันหรือไม่ ศาลได้ดูพฤติกรรมของคู่ความในการเข้าไปเยี่ยมชม โดยเฉพาะสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยมีเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสให้การต้อนรับ ศาลเห็นว่า เหมือนเป็นการยอมรับโดยทางอ้อมของสยามในอธิปไตยของปราสาทพระวิหาร รวมทั้งพฤติกรรมอื่นๆ ของไทยในเวลาต่อมา ถือว่าเป็นการยืนยันของไทยในการยอมรับเส้นแบ่งเขตแดน ในภาคผนวก 1

โดยไทยในปี 1908 (พ.ศ.2451) และ1909 (พ.ศ.2452) ได้ยอมรับว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นผลของคณะกรรมการปักปัน และยอมรับว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในกัมพูชา การยอมรับของคู่ความสองฝ่าย ทำให้แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา จึงเห็นได้ว่า การตีความสนธิสัญญาจะต้องชี้ขาดว่า แผนที่ภาคผนวก 1 เป็นแผนที่ในพื้นที่ขัดแย้ง

3.ศาลได้มีความชัดเจนว่า ศาลดูเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น เป็นบริเวณที่เล็กมาก ปี 1962 กัมพูชากล่าวว่า พื้นที่พิพาทเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก และในถ้อยแถลงอื่นๆ ก็ไม่มีความขัดแย้งกัน ในปี 1962 คำพิพากษาได้แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ที่พิพาทกันเป็นพื้นที่ที่เล็กมาก หลังการพิจารณาคดี ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นด้วย ว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ทางทั่วไปถือว่าเป็นเขตแดนระหว่างสองประเทศ คือทางใต้ของกัมพูชาทางใต้และทางเหนือของไทย

ส่วนแผนที่ภาคผนวก 1 ได้วางเขตแดน ศาลก็ได้บอกว่าจะพิจารณาเฉพาะบริเวณนี้เท่านั้นตามคำพิพากษา 1962 ศาลจึงได้ดูข้อบทปฏิบัติการ วรรค 2 และ 3 เป็นผลสืบเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1 จึงเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการทั้งสามต้องอ่านเป็นข้อบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่สามารถดูคำใดคำหนึ่งเพื่อตีความได้

ศาลเห็นว่า ข้อบทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจน วรรคดังกล่าวศาลเห็นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยกัมพูชา แต่คงมีความจำเป็นที่จะต้องกลับมาที่ขอบเขต เมื่อพิจารณาข้อ 2 และ 3 ข้อพิพาททั้งสองขัดกันที่ข้อ 2

แต่ข้อ 2 พูดถึงเพียงว่าไทยจะต้องถอนเจ้าหน้าที่ ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาและไม่ได้กล่าวว่า การถอนจะต้องถอนไป ณ ที่ใด ข้อบทปฏิบัติการได้พูดถึงเขตแดนแค่บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลไม่ได้กำหนดว่าเจ้าหน้าที่ใดของไทยต้องถอนกำลังออกไปที่ใดบ้าง บอกแต่ว่าเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในที่นั้น

ข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ระบุว่า ไทยต้องถอนทหาร และเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ในปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง ศาลจึงเห็นว่าจะต้องเริ่มโดยดูจากหลักฐานพยานปี 1962 เกี่ยวกับสถานที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ไทยประจำอยู่ พยานหลักฐานเดียวที่มีคือ ที่ไทยนำเสนอซึ่งได้มีการเยี่ยมชมเมื่อ 1961 ระหว่างการพิจารณาคดีในการซักค้านของฝ่ายกัมพูชา พยานผู้เชี่ยวชาญของไทยบอกว่า มีแค่ผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คนและตำรวจ มีการตั้งแคมป์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของปราสาท และไม่ไกลก็มีบ้านพักอยู่ มีสถานีตำรวจนั้น ทางทนายฝ่ายไทยอ้างว่า อยู่ทางใต้ของแผนที่ภาคผนวก 1 แต่อยู่เหนือของเส้นสันปันน้ำ ระหว่างการพิจารณาคดีปี 1962 กัมพูชาได้นำเสนอข้อต่อสู้อีกข้อว่า จะต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน"

ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณปราสาทพระวิหาร การอ้างถึงสันปันน้ำ โดยทนายไทยนั้นเป็นสำคัญ เพราะอ้างว่าการแบ่งเส้นต่างๆ มีความใกล้เคียงกับที่กัมพูชาเสนอ เพราะฉะนั้นการที่มีสถานีตำรวจไทยตั้งอยู่เหนือเส้นสันปันน้้ำ ที่เป็นไปตามมติ ครม. ของไทย ที่ไทยบอกว่าอยู่นอกบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เมื่อไทยถูกบอกว่าให้ถอนทหาร บริเวณปราสาทพระวิหารและใกล้เคียง น่าจะมีความประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ต่างๆที่ประจำการ ตามคำเบิกความของไทยในคดีนั้น เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยประจำการบริเวณอื่นแต่อย่างใด บริเวณปราสาทพระวิหารควรจะยาวไปถึง สถานที่หรือที่ตั้งมั่นของตำรวจในขณะนั้น เนื่องจากอยู่ใกล้เส้นตามมติ ครม. จึงไม่ถือว่าเป็นเส้นแบ่งเขตแดนสองประเทศไทยได้

ศาลได้เน้นย้ำบริเวณปราสาทว่า ปราสาทตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เห็นได้ชัดเจนมาก ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น คือทางตะวันออกเฉียงใต้และทางตะวันตกเฉียงใต้ของหน้าผาฝั่งกัมพูชา และด้านเหนือกับตะวันตกเฉียงเหนือเป็นที่ที่อยู่ในเทือกเขาดงรัก หุบเขาทั้งสองนี้ เป็นช่องทางที่กัมพูชาสามารถเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้เพราะฉะนั้นตามความเข้าใจเบื้องต้นบริเวณปราสาทพระวิหาร ศาลเห็นว่า เขตแดนของกัมพูชาทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของแผนที่ภาคผนวก 1 ศาสตราจารย์ฟรีดริช แอคเคอร์มานน์ ไม่ได้ให้ระบุระยะทางที่ชัดเจน แต่ตามพยานหลักฐานมีความชัดเจนว่าด่านตำรวจอยู่ในระยะที่ไม่ไกลมากทางใต้และอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นที่ภาคผนวก 1

"ดังนั้น ศาลพิจารณาพื้นที่ที่จำกัด ทั้งตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือตามเหตุผล ถือว่าเป็นพื้นที่ของกัมพูชา ศาลเห็นว่าพื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติการที่ 2 ควรขยายให้ครอบคลุมชะง่อนผา เพื่อนำมาใช้แทนที่ส่วนที่ได้มีการเลือกโดยมติ ครม.1962 ในข้อพิจารณาของกัมพูชาทางศาลไม่ได้สามารถทำคำจำกัดความ เกี่ยวกับคำว่า "บริเวณใกล้เคียงปราสาท" ว่าครอบคลุมนอกจากชะง่อนผาและภูมะเขือ ซึ่งศาลถือว่าไม่ได้เป็นการตีความที่ถูกต้องตามข้อ 1 ภูมะเขือในแผนที่นั้นเป็นพื้นที่ส่วนที่ต่างหากออกไป จากแผนที่ปี 1961 หรือแผนที่ซึ่งเป็นเอกสารแนบ

ข้อ 2 มีข้อพิจารณาในการพิจารณาปี 1961 ฝ่ายกัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือ อยู่ภายในปราสาทพระวิหารในการพิจารณาข้อพิพาท ดังนั้น อดีตผู้ว่าการจังหวัดของกัมพูชา ถือว่าพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของอีกจังหวัด แต่ถือว่าภูมะเขือเป็นจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องของกัมพูชา ขณะเดียวกันจังหวัดนี้ก็เล็กเกินกว่าที่ครอบคลุมพระวิหาร และภูมะเขือไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่สำคัญที่ศาลจะต้องพิจารณา 

ข้อ 3 ไม่ได้มีหลักฐานในการนำเสนอต่อศาลว่า ได้มีเจ้าหน้าที่ไทยหรือกำลังทหารอื่นๆ ของไทย อยู่บริเวณนั้น รวมถึงบริเวณพื้นที่ภูมะเขือซึ่งทำให้ไทยต้องถอนทหารออกจากบริเวณนั้น"

ท้ายสุด การที่กัมพูชาต้องการให้ตีความแผนที่ภาคผนวก 1 เกี่ยวกับเส้นสันปันน้ำของไทยนั้น ศาลไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกำหนดว่าสันปันน้ำอยู่ที่ใด จึงเป็นไปไม่ได้ว่าศาลได้พิจาณาเรื่องสันปันน้ำ บอกไม่ได้ว่า อาณาบริเวณใดเป็นของปราสาทพระวิหาร ในปี 1962 ศาลไม่ได้พิจารณาบริเวณที่กว้างขวางมาก และไม่ได้กำหนดบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร เพื่อให้เข้าใจว่าจะต้องครอบคลุมจากชะง่อนผาของพระวิหาร แต่คำพิพากษาดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าบริเวณภูมะเขืออยู่ในไทย เพราะศาลไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้

ด้วยเหตุผลของการพิจารณา 1962 ตามที่ได้มีการร้องขอในกระบวนการพิจาณาของศาล ได้พิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านตะวันออก, ใต้ และตะวันตกฉียงใต้ ได้มีชะง่อนผา และปี 1962 สองฝ่ายได้ตกลงกันว่าพื้นที่นั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาและพื้นที่ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงหนือ ซึ่งมีแนวโน้มลาดชันน้อยกว่า และแยกปราสาทพระวิหารออกจากภูมะเขือ ก่อนที่จะลาดลงสู่พื้นที่ราบของกัมพูชา ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกพื้นที่และคำพิพากษาปี 1962 ไม่ได้พิจารณาว่าภูมะเขืออยู่ในไทยหรือกัมพูชา

ดังนั้น ชะง่อนหน้าผา และภูมะเขือ จะเริ่มที่จะยกสูงขึ้นจากพื้นราบนั้น ก็เป็นเส้นของแผนที่ภาคผนวก 1 โดยเส้นนั้น จะสูงขึ้นไปทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและตามคำพิพากษา 1962 ได้มีการกำหนดให้ไทย ถอนกำลังออกจากบริเวณนั้น โดยต้องถอนทั้งหมด ศาลเข้าใจเรื่องที่ไทยระบุถึงการถ่ายโอนแผนที่เพื่อกำหนดพื้นที่เจาะจงตามเรื่องของวรรคดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ ข้อพิจารณาอีกประการคือในปี 1962 ศาลไม่ได้กำหนดจะตีความคำพิพากษา การที่เราจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับขณะนี้ ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม พันธกรณีดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายจึงไม่สามารถหาทางออกแต่ฝ่ายเดียวได้

คำพิพากษาปี 1962 ต้องมีการพิจารณาอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ เรื่องวรรค 2 ศาลพิจารณา เรื่องความสัมพันธ์ของวรรคนี้ กับข้อบทปฏิบัติการ ขณะที่ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ไม่ได้มีการพิจราณา แต่สามารถทำให้เข้าใจได้ในข้อบทปฏิบัติอื่นๆ ในคำตัดสินของศาล เรื่องขอบเขตข้อพิพาท เป็นเรื่องของอธิปไตยเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ดังนั้น ศาลจึงได้ตัดสินใจข้อปฏิบัติการที่ 1 ว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชาและไทย จึงมีพันธะถอนกำลังทหารและอื่นๆ ออกจากพื้นที่ของเขมร ในแถบของพระวิหาร และข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ทำให้เกิดพันธะกรณีที่ครอบคุลมพื้นที่ขยาย เกินกว่าขอบเขตของปราสาทพระวิหารเอง ข้อบทปฏิบัติการที่ 3 ถือว่า เป็นพื้นที่ของกัมพูชาและคำบรรยายนี้ศาลถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าใจได้โดยปริยาย จากข้อบทปฏิบัติการที่ 3

สำหรับเรื่องอธิปไตยเหนือพื้นที่ขึ้นอยู่กับอันนี้ พื้นที่ที่ศาลเกี่ยวข้องด้วย ในคดีแรกเป็นพื้นที่มีขนาดเล็กและชัดเจน ทางเหนือก็เห็นได้ชัด สถานการณ์นี้ ศาลเห็นว่า "บริเวณอธิปไตยของกัมพูชา อยู่พื้นที่เล็กๆ เป็นผลจากสิ่งที่ได้พูดถึงในวรรคแรก และลักษณะข้อพิพาทปี 1962 และลักษณะวิธีการในการเสนอคำให้การสองฝ่าย เพราะฉะนั้น เรื่องอธิปไตยที่ศาลได้พิจารณาทั้งที่พูดถึงวรรคแรกและวรรคที่ 3 ศาลมีข้อพิจารณาสรุปว่า พื้นที่ในวรรค 1 และ 3 เป็นพื้นที่เดียวกัน ดังนั้น ปราสาทพระวิหาร อยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา เป็นการอ้างถึงววรรค 2 และ 3 ที่พูดถึงบริเวณปราสาทพระวิหาร ตามที่ได้มีการร้องขอให้พิจารณาในครั้งนี้ ดังนั้นศาลจึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเส้นแบ่งแยกไทยและกัมพูชา

ศาลสรุปว่า ชะง่อนผาในแผนที่ภาคผนวก 1 อยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา เป็นประเด็นข้อพิพาท 1962 เป็นประเด็นหัวใจของข้อขัดแย้งนี้ นอกจากนี้ ศาลไม่ได้พิจารณาว่าพันธะกรณีที่เกิดขึ้นในข้อบทปฏิบัติการที่ 2 เป็นสิ่งที่ไทยต้องดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือไม่ ไทยได้รับว่าไทยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ต้องเคารพบูรณาการ ของกัมพูชา หมายความว่า ครอบคลุมพื้นที่ของอธิปไตยกัมพูชา หลังการแก้ปัญหาอธิปไตยแล้ว ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการตามพันธะกรณี และเคารพบูรณาการของสองประเทศ และมีหน้าที่แก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างกันด้วยิวิธีการอื่น

ด้วยหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ เป็นเรื่องชัดเจนที่คำฟ้องทั้งสองฝ่ายปี 1952 และ 1962 ปราสาทพระวิหารถือว่าเป็นวัตถุโบราณสำหรับทั้งสองฝ่าย ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว ศาลเห็นว่าภายใต้การทำงานของทั้งสองฝ่าย ไทยและกัมพูชาต้องคุยกันเอง หารือกันเอง โดยมียูเนสโกควบคุม ในฐานะที่เป็นมรดกโลก แต่ละรัฐมีพันธะกรณีที่ต้องดูแลและปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ไว้ ภายใต้บริบทเหล่านี้ศาลต้องการเน้นว่า การเข้าถึงปราสาทพระวิหารต้องเข้าถึงจากทางกัมพูชาด้วยเช่นกัน

สรุป วรรค 1 กัมพูชามีอธิปไตยเหนือทั้งชะง่อนผาที่ระบุไว้ในปี 1962 ไทยจึงมีพันธะต้องถอนกำลังหทรหารทั้งหมดบริเวณนั้น"

"ด้วยเหตุนี้ ศาลมีมติเอกฉันท์ 2 ประการดังนี้ คือ 1.ด้วยอำนาจตามมาตรา 60 ของธรรมนูญศาล ทำให้การขอตีความของกัมพูชานั้น สิ่งเหล่านี้ ศาลมีอำนาจรับคำร้อง 2.โดยมติเอกฉันท์ ศาลขอประกาศว่า ผลจากการพิจารณาคำขอตีความคำพิพากษา ณ วันที่ 15 มิถุนายน 1962 ตามที่วินิจฉัยไว้ในความในย่อหน้า 98 ของคำพิพากษาใหม่นี้วินิฉัยได้ว่า กัมพูชามีอธิปไตยทั้งหมดเหนือชะง่อนผาที่ตั้งปราสาทพระวิหาร อันยังผลให้ไทยมีพันธะต้องถอนกำลังออกจากเขตแดนตรงนั้นทั้งกำลังทหารและตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รักษาการอื่นๆ หรือ ผู้ดูแลรักษา ออกไปพ้นจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวนั้น" ผู้พิพากษาศาลโลก กล่าว





วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ส่งงานการเลือกตั้งของประเทศมาเลเซีย

นายกของประเทศมาเลเซีย




ประเทศาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ พฤษภาคม 2556  หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 3เมษายน  2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12  จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักหลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกันประเทศมาเลเซียจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 5พฤษภาคม 2556  หลังนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ เมษายน  2556 โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกสภานิติบัญญัติรัฐ 12  จาก 13 รัฐ (ยกเว้นรัฐซาราวักหลังธรรมเนียมปฏิบัติที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ให้จัดการเลือกตั้งเหล่านี้พร้อมกัน             
         
นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บ ราซัค ผู้นำพรรคแนวร่วมแห่งชาติวิงวอนฝ่ายค้านยอมีรับผลการเลือกตั้งเดินหน้าสร้างความปรองดอง หลังคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีนาจิ๊บวิงวอนให้พรรคร่วมฝ่ายค้านยอมรับผลการเลือกตั้งเพื่อนำพาประเทศไปสู่ความปรองดองและแสดงให้โลกเห็นว่ามาเลเซียมีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำพรรคร่วมฝ่ายค้านปากาตัน รักยัต ปฏิเสธผลการเลือกตั้ง โดยระบุว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้นมากมายกว่าหมื่นคดี ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้งไม่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่หมึกทาบนนิ้วเพื่อแสดงว่าใช้สิทธิ์เลือกตั้งแล้วสามารถลบออกได้ง่ายทั้งที่ต้องติดนานอย่างน้อย สัปดาห์ หรือการนำคนต่างชาติ จากบังคลาเทศ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียมาสวมสิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้ตามโซเชี่ยลมีเดียของมาเลเซียก็การเปิดโปงการทุจริตในรูปแบบต่างๆมาเผยแพร่ อาทิวีดีโอที่แสดงให้เห็นว่ามีคนต่างชาติได้รับสัญชาติโดยวิธีที่น่าสงสัยและถูกส่งตัวไปยังหน่วยเลือกตั้ง ซึ่งหลังผลการเลือกตั้งออกมาผู้สนับสนุนฝ่ายค้านหลายพันคนได้เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ในเฟซบุคเป็นสีดำแสดงถึงความผิดหวัง ขณะที่หลายฝ่ายจับตาอนาคตทางการเมืองของอันวาร์ว่าจะเป็นอย่างไรหลังการเลือกตั้งครั้งนี้อย่างไรก็ตามฝ่ายรัฐบาลและคณะกรรมการเลือกตั้ง ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านและกล่าวว่ามีผู้สนับสนุนของของพรรครัฐบาลได้จ่ายค่าเดินทางให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อยู่ต่างประเทศบินกลับมาลงคะแนน-การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ที่มีประชาชนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งถึง 10 ล้านคน คิดเป็น 80 เปอร์เซนต์ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 13 ล้านคน และแม้ว่าพรรคแนวร่วมแห่งชาติจะได้ที่นั่งในรัฐสภาไป 133 ที่นั่ง แต่ก็ถือว่าเป็นผลงานที่เลวร้ายที่สุดของพรรคร่วมรัฐบาล เนื่องที่นั่งลดลงจากเดิม 140 ที่นั่งจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2008 ส่วนพรรคร่วมฝ่ายค้าน แม้ว่าจะพ่ายแพ้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ แต่ก็ได้ที่นั่ง 89 ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากเดิม ที่นั่ง ขณะที่ตลาดหุ้นมาเลเซียขานรับผลการเลือกตั้งทะยานขึ้นสูงสุดเป็นยประวัติการร์ 6.8 เปอร์เซนต์ในการซื้อขายช่วงเช้าวันนี้ ขณะที่ค่าเงินริงกิตแข็งค่าขึ้นในรอบ 10 เดือน
ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า ใน ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.
   
บรรดาผู้สนับสนุนแนวร่วมฝ่ายค้านต่างแสดงออกถึงความรู้สึกผิดหวังและขมขื่นกับผลการเลือกตั้งที่ออกมา เนื่องจากพวกเขาคาดหมายไว้สูงว่าการเลือกตั้งคราวนี้จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ในประเทศแต่ผลลัพธ์คือ พวกเขาได้ที่นั่งในสภาเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่แล้วในปี 2008 เพียง 7 ที่นั่งเท่านั้น
          ขณะที่ในการเลือกตั้งคราวนี้ ผู้มีสิทธิออกเสียงมากมายร้องเรียนว่า มาตรการสำคัญประการหนึ่งซึ่งทางการมาเลเซียระบุว่าเป็นเครื่องรับประกันว่าจะไม่มีการโกงการเลือกตั้ง อันได้แก่การให้ผู้ที่ใช้สิทธิแล้ว “พิมพ์นิ้วมือ” ด้วย “หมึกที่ไม่สามารถลบได้” เพื่อป้องกันการเวียนเทียนลงคะแนนนั้น แท้จริงแล้วหมึกดังกล่าวสามารถใช้นิ้วลบออกอย่างง่ายดาย นอกจากนี้ยังมีคลิปวิดีโอ ภาพถ่าย และข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ที่ยืนยันผ่านโลกออนไลน์ว่า พบ “ผู้มีสิทธิออกเสียง” ชาวต่างชาติในคูหาเลือกตั้ง ซึ่งตรงกับที่อันวาร์ เคยกล่าวหาก่อนวันเลือกตั้งไม่นานว่ารัฐบาลขน “ผู้ต้องสงสัย” หลายหมื่นคนซึ่งอาจเป็นชาวต่างชาติไปยังเขตเลือกตั้งหลายแห่งทั่วประเทศ
          อันวาร์วัย 65 ปีซึ่งเคยมีตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองเป็นถึงรองนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในระหว่างปี 1993-1998 และถูกวางตัวเป็น “ทายาททางการเมือง” ของ มหาเธร์ โมฮัมหมัด กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนที่เข้าร่วมชุมนุมเมื่อคืนวันพุธ (8) ณ สนามกีฬาแห่งหนึ่งนอกกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยยืนยันจะเดินหน้าคัดค้านผลการเลือกตั้งใน 30 เขต ที่ผู้สมัครของพรรคร่วมฝ่ายค้าน “ปากาตัน รักยัต” ทั้ง 3 พรรค ประสบความพ่ายแพ้ต่อผู้สมัครของฝ่ายรัฐบาลแบบน่ากังขา โดยเขามั่นใจว่าการต่อสู้ตามแนวทางนี้มากพอที่จะก่อให้เกิดการพลิกผันของผลการเลือกตั้งได้